จิตรกรรมมีหลายประเภทและเรียกชื่อต่างๆ กัน โดยพิจารณาจากวัสดุ เรื่องราว และตำแหน่งติดตั้ง การเรียกตามชื่อวัสดุ ได้แก่ จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรรมสีน้ำมัน เป็นต้น
การเรียกชื่อตามเรื่องราว ได้แก่ จิตรกรรมภาพคน จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ เป็นต้น
การเรียกชื่อตามตำแหน่งติดตั้ง ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมข้างถนน เป็นต้น
จิตรกรรมอิงประวัติศาสตร์
จมื่นไวยวรนารถเป็นแม่ทัพไปปราบฮ่อ เทคนิคสีน้ำมันขนาด 120x200 ซ.ม. ผลงานของ วิทูรย์ โสแก้ว
จิตรกรรมสีน้ำมัน
ตลาดน้ำ ชีวิตคนที่อาศัยในคลอง ขนาด 14x20 นิ้ว ผลงานของวิทูรย์ โสแก้ว
จุดมุ่งหมายของจิตรกรรม
จุดมุ่งหมายของจิตรกรรมอาจแบ่งได้เป็น2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. จุดมุ่งหมายของศิลปินผู้สร้าง
2. จุดมุ่งหมายของจิตรกรรมเองโดยตรง จุดมุ่งหมายของศิลปินผู้สร้างนั้น ได้แก่ เป้าหมายที่จิตรกรต้องการให้จิตรกรรมสนองผลประโยชน์ทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น บรรยายด้านความเชื่อทางศาสนา บรรยายเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ และบรรยายประวัติความเป็นมาของมนุษย์ ซึ่งลักษณะรูปแบบก็มักจะคล้ายตามความต้องการของผู้อุปการะศิลปิน หรือพระมหากษัตริย์โดยตรง นอกจากนี้ยังสนองผลประโยชน์ทางด้านความคิดของศิลปินโดยตรงเช่น ใช้จิตรกรรมเป็นสื่อเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของความเชื่อ ความศรัทธา ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ตกแต่งฝาผนัง โบสถ์ วิหารเป็นต้น หรือเพื่อเป็นแนวทางในการสั่งสอนคนรุ่นหลัง สำหรับจุดมุ่งหมายของจิตรกรรมโดยตรง มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ
1. เพื่อบันทึกรูปแบบ (Recorded image)
2. เพื่อบันทึกความรู้สึกของศิลปิน (Recorded sensation)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น