ประติมากรรม (Sculpture)
เราทราบมาแล้วว่าสิ่งที่ล้อมรอบตัวเรามีรูปทรงต่างๆ กันและมีลักษณะเป็นสามมิติ ดังนั้นเมื่อใดที่มนุษย์สนใจที่จะเลียนแบบรูปทรงสามมิตินั้นโดยใช้วัสดุที่เปลี่ยนแปลงรูปทรงได้เช่น ดินเหนียว ถ่ายทอดรูปทรงนั้นๆเราก็เรียกผลงานว่า ประติมากรรม และผู้ทำงานนี้ก็ถูกเรียกว่า ประติมากร
คำว่า ประติมากรรม หมายถึง รูปของสิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นสามมิติ อาจเป็นรูปคน สัตว์ สิ่งของ แต่ถ้าเป็นรูปเคารพในศาสนา เช่น พระพุทธรูป พระเจ้า เป็นต้น เรียกว่า ปฏิมากรรม และผู้ทำก็ถูกเรียกว่า ปฏิมากร วิธีการทำประติมากรรม ประติมากรรมมีวิธีการทำอยู่ 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มวัสดุลงในบริเวณหรือแกนที่สร้างขึ้น โดยให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ ซึ่งได้แก่ การปั้น 2. การสกัดเอาส่วนที่เห็นว่าไม่ต้องการออก จนเหลือเฉพาะรูปทรงที่เห็นว่าเหมาะสมเท่านั้น ซึ่งได้แก่ การแกะสลัก
3. การผสมผสานกันทั้งขบวนการที่ 1 และที่ 2ได้แก่ การเพิ่มเข้าและการแกะสลักออก จนได้รูปทรงของประติมากรรมตามที่ต้องการ
รูปทรงของประติมากรรม
ประติมากรรมมีรูปทรงเป็นลักษณะสามมิติ และในลักษณะสามมิตินั้นยังสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท
1. ประเภทลอยตัว (Round Relief) มีลักษณะตั้งได้ สามารถมองได้รอบด้าน ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังประติมากรรมประเภทลอยตัวนี้ บางทีก็สามารถตั้งได้ด้วยตัวของมันเอง บางชนิดก็ต้องมีฐานรองรับซึ่งผู้สร้างที่ใช้ฐานรองรับจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกลมกลืนของฐานด้วย บางทีก็ใช้บริเวณฐานเป็นที่จารึกคุณงามความดีของรูปปั้นนั้น เช่น รูปปั้นคนเหมือน หรือรูปอนุสาวรีย์เป็นต้น
2. ประเภทนูนสูง (High Relief) มีลักษณะสูงขึ้นมาจากพื้น โดยที่มองเห็นได้ 3 ด้าน ด้านหลังมองไม่เห็น สำหรับความสูงต่ำมักจะมีลักษณะใกล้เคียงรูปแบบจริง เช่น รูปปั้นประกอบบริเวณฐานของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นต้น แสงหิรัญได้ถ่ายทอดความแกร่งกล้าของเด็กไทยและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีต ภาพปั้นสิงห์ ประติมากรรมนูนสูง
3. ประเภทนูนต่ำ (Bas Relief) มีลักษณะคล้ายกับนูนสูง ผิดกันแต่ว่าความสูงต่ำ ได้ย่นย่อลงให้กลมกลืนกับพื้นหลัง เช่น รูปบนเหรียญต่างๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น